Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
7
|
โจทย์
การชั่งน้ำหนักและการตวง
(ต่อ)
- การตวงปริมาตรและความจุที่มีหน่วยเป็นลิตร มิลลิลิตร
- คาดคะเน
Key Questions
-
เกิดอะไรขึ้นเมื่อครูให้แต่ละคนกำหนดหน่วยตวงขึ้นมาเองและทำไมต้องมีการกำหนดการตวงที่มีหน่วยมาตรฐาน?
เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาชนะรูปร่างต่าง ๆ กัน ขนาดความจุ 1 ลิตร
- เครื่องตวงมาตรฐาน
-
ใบงาน
|
ชง
- นักเรียนบันทึกการไหลของน้ำ โดยครูเปิดก็อกน้ำกำหนดการอัตราการไหล ใส่ภาชนะขนาด
1 ลิตร แล้วตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียน มีความสนใจ จากช้าไปหาเร็ว
- ให้นักเรียนตวงน้ำที่ไหลออกมาเพื่อเปรียบเทียบว่าถ้าน้ำไหลเร็ว ไหลช้า เวลาที่น้ำเต็มถ้วยตวงใช้เวลาตามกันอย่างไร
เชื่อม
- นักเรียนจะเสนอความคิดเห็น แล้วสรุปร่วมกัน
- แบ่งกลุ่มนักเรียนทดลองการตวงน้ำใช้เหยือกตวงน้ำ ถ้วยตวง กระบอกตวงน้ำความจุต่างๆโดยครูให้ใบงานสำหรับให้นักเรียนทำลอง ตวงน้ำ
เช่น
- ต้องการน้ำ 5ลิตร ต้องใช้ เหยือกตวงน้ำ ขนาด 1 ลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 5 ลิตร
- ต้องการน้ำ 1ลิตร ต้องใช้ถ้วยตวง
ขนาด 500 มิลลิลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 1 ลิตร
- ต้องการน้ำ 5ลิตร ต้องใช้ถ้วยตวง
ขนาด 500 มิลลิลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 5 ลิตร
-ต้องการน้ำ 1ลิตร ต้องใช้ถ้วยตวง
ขนาด 250 มิลลิลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 1 ลิตร
-ต้องการน้ำ 5ลิตร ต้องใช้ถ้วยตวง
ขนาด 250 มิลลิลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 5 ลิตร
-ต้องการน้ำ 1ลิตร ต้องใช้ถ้วยตวง
ขนาด100 มิลลิลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 1 ลิตร
-ต้องการน้ำ 2ลิตร ต้องใช้ถ้วยตวง
ขนาด100 มิลลิลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 2 ลิตร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกผลและตอบคำถามจากชุดคำถาม
ชง
- ครูกำหนดสถานการณ์ นำขวดเครื่องดื่มที่ใช้ในชีวิตประจำวันขนาดต่างๆ 3ใบ ขนาด 60 มิลลิลิตร 250 มิลลิลิตรและ 500 มิลลิลิตร
ให้หาวิธีตวงน้ำให้ให้ได้ปริมาตร 850 มิลลิลิตร
โดยต้องใช้ขวดทั้ง 3 ใบ (นักเรียนแสดงวิธีคิด)
- นักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
ใช้
- นักเรียนทำใบงาน
|
ภาระงาน
- การคาดคะเนความจุของน้ำในแก้ว
- การทดลองตวงของแห้ง
โดยครูต้องการข้าวสาร และถั่วลิสงจำนวน 1 ถุงและการตวงของเหลว น้ำ 1
ลิตร โดยให้นักเรียนเลือกใช้หน่วยตวงเองซึ่งใช้หน่วยตวงที่ไม่ใช่มาตรฐาน
(
กล่องนม แก้ว กระป๋อง )
- การอธิบายเหตุผลประกอบการเลือกใช้อุปกรณ์ในการตวงและวิธีการตวง
- การบันทึกการไหลของน้ำ
- ทดลองการตวงน้ำใช้เหยือกตวงน้ำ ถ้วยตวง กระบอกตวงน้ำความจุต่างๆ
-
การทำใบงาน
-
การร่วมแสดงความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
ชิ้นงาน
-
ใบงาน
-
ผลการทดลองการตวงน้ำใช้เหยือกตวงน้ำ ถ้วยตวง กระบอกตวงน้ำความจุต่างๆและการตอบคำถาม
|
ความรู้
เข้าใจความสัมพันธ์ของการตวงปริมาตรและความจุที่มีหน่วยเป็นลิตร มิลลิลิตรใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา รวมทั้ง ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
-
ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการจัดการข้อมูลการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
- รู้เคารพ
มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา © 2016 Lamplaimat Pattana School
Week7
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่พี่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการชั่งตวง ซึ่งคุณครูได้เปลี่ยนแผนการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้ จากที่แบ่งกลุ่มนักเรียนทดลองการตวงน้ำใช้เหยือกตวงน้ำ ถ้วยตวง กระบอกตวงน้ำความจุต่างๆโดยครูให้ใบงานสำหรับให้นักเรียนทำลอง ตวงน้ำ และทำใบงานตามสถานการณ์ที่กำหนดไว้ เปลี่ยนเป็นชวนพี่ๆป.4 คิดคำนวณค่าดัชนีมวลกายและจัดแบ่งกลุ่มพี่ๆได้เป็น 3 กลุ่ม คือคนผอม ปกติ และอ้วน ดังนั้นคุณครูจึงได้แบ่งกลุ่มพี่ๆออกแบบเมนูอาหารสุขภาพที่เหมาะกับกลุ่มคนตามค่าดัชนีมวลกายที่วัดได้ โดยแต่ละกลุ่มก็ต้องวางแผนการทำงานคิดเมนูอาหาร ส่วนประกอบวัตถุดิบต่างๆ ตลอดจนวิธีการประกอบอาหารของจนเอง ซึ่งกิจกรรมนี้พี่ๆป.4 ตั้งใจและสนใจทำกิจกรรมดีมากค่ะ มีการวางแผนการทำงาน และรับผิดชอบต่องานที่ทำดีมาก ซึ่งระหว่างการเรียนรู้คุณครูก็เห็นพี่ๆคนมีน้ำใจนำวัตุดิบมาเผื่อเพื่อนๆ บางคนไม่ค่อยถนัดด้านวิชาการ แต่ถ้าทักษะชีวิตการทำมาหากินได้นั้นชัดเจนมากๆในครั้งนี้คือพี่จัมโบ้ เพราะจากที่สังเกตเห็นพี่จัมโบ้มีความพยายามที่จะคว้านไส้ปลานิล จนสามารถทำได้สำเร็จ ( เนื่องจากมีดไม่คมเลย) นอกจากนี้ยังเห็นการแก้ปัญหา การมีน้ำใจของพี่ๆที่มีต่อเพื่อนร่วมชั้น และแน่นอนว่าสนุกและอร่อยไม่เหลือเลยค่ะสำหรับอาหารที่ทำเองกินเอง และจะดีกว่านี้หากครูได้ทบทวนสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรมดังกล่าวอีกครั้งและ สามารถเพิ่มใบงานเกี่ยวกับการคิดคำนวณเรื่องปริมาตร ความจุ ให้กับเด็กๆอีกครั้ง และคิดว่าจะเพิ่อมเติมให้ในสัปดาห์หน้าค่ะ
ตอบลบ