Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
5
|
โจทย์
การชั่งน้ำหนักและการตวง
- การชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัม กรัม ขีด
- คาดคะเน
- เปรียบเทียบขนาดของวัตถุ
Key Questions
เรามีวิธีการชั่งน้ำหนักอย่างไรได้บ้าง
และการชั่งน้ำหนักมีความสำคัญอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เครื่องชั่งสองแขน เครื่องชั่งน้ำหนักตัว เครื่องชั่งสปริง
- สิ่งของที่มีน้ำหนัก ฉลากสินค้าที่ระบุน้ำหนักกำกับไว้
- ลูกแก้ว ฝาจีบ
เงินเหรียญ
ถุงข้าวสารเล็ก เลโก้ ส้ม
|
ชง
- ครูให้นักเรียนคาดคะเนน้ำหนักน้ำหนักด้วยการเปรียบเทียบสิ่งของที่มีรูปร่างใกล้เคียงกัน เช่น ผลส้ม 2 ผล
- นักเรียนนำสิ่งของไปชั่งกับเครื่องชั่งและสรุปผล
- ครูให้นักเรียนคาดคะเนน้ำหนักน้ำหนักด้วยการเปรียบเทียบสิ่งของที่มีรูปร่างแตกต่างกัน
เช่นข้าวสาร 1 ถุงเล็ก กับสำลี 1 ถุงใหญ่
- นักเรียนนำสิ่งของไปชั่งกับเครื่องชั่งและสรุปผล
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“เรามีวิธีการชั่งน้ำหนักอย่างไรได้บ้าง
และการชั่งน้ำหนักมีความสำคัญอย่างไร?”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมสนทนาเกี่ยวกับเครื่องชั่งต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
เช่นเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องชั่งสองแขน ตาชั่งฯลฯ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยน้ำหนักเป็นกิโลกรัม กรัม ขีด
![]()
- แบ่งกลุ่มนักเรียนออกแบบตารางชั่งสิ่งของต่างๆ จำนวน 5 อย่าง เช่น ถุงข้าวสารเล็ก เลโก้ ส้ม ฯลฯโดยไม่ใช้หน่วยมาตรฐาน (ลูกแก้ว ฝาจีบ เงินเหรียญ)โดยเริ่มจากการคาดคะเน และชั่งจริง จากนั้นบันทึกผลที่ได้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลตารางจากการออกแบบชั่งสิ่งของต่างๆ จำนวน 5 อย่าง โดยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานนั้น
มาชั่งน้ำหนักโดยใช้หน่วยมาตรฐานจริง และบันทึกผลลงในตารางอีกครั้ง
พร้อมกับตอบคำถามจากชุดคำถาม
- ครูและนักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
ใช้
- นักเรียนทำใบงาน
|
ภาระงาน
- การคาดคะเนน้ำหนักน้ำหนักด้วยการเปรียบเทียบสิ่งของที่มีรูปร่างใกล้เคียงกันและสิ่งของที่มีรูปร่างแตกต่างกัน
- สนทนาเกี่ยวกับเครื่องชั่งต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- ออกแบบตารางชั่งสิ่งของต่างๆ
จำนวน 5 อย่าง โดยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานใช้หน่วยมาตรฐานจริง
พร้อมตอบคำถามจากชุดคำถาม
ชิ้นงาน
ตารางการออกแบบการชั่งสิ่งของต่างๆ
จำนวน 5 อย่าง โดยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานใช้หน่วยมาตรฐานจริง พร้อมตอบคำถามจากชุดคำถาม
|
ความรู้
เข้าใจและบอกความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาวความสูงและระยะทาง
ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา รวมทั้ง ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
-
ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการจัดการข้อมูลการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
- รู้เคารพ
มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา © 2016 Lamplaimat Pattana School
Week5
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
สัปดาห์นี้พี่ๆป.4 ได้นำเสนอโมเดลสิ่งประดิษฐ์ของตนเองค่ะ ีทั้งบ้าน ชั้นวางสิ่งของ เก้าอี้ฯลฯ ที่ทำมาจากลังกระดาษา กล่องนม ไม้ไอติม ไม้ไผ่ ไม้เสียบลูกชิ้นบ้าง เห็นความั้งใจของพี่ๆทุกคนค่ะ อีกทั้งสัปดาห์นี้เรายังร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับการวัดระยะทางอยู่เช่นเคยนะคะ เพียงแต่เปลี่ยนมาเป็นออกแบบแผนที่จากโรงเรียนไปที่บ้านของตนเอง บางคนไม่แน่ใจขอให้พ่อกับแม่ช่วย พร้อมช่วยบอกรายละเอียดต่างๆแม้กระทั่งทิศต่างๆ พี่ๆหลายคนตั้งใจทำกิจกรรมดีมากค่ะ
ตอบลบเนื่องจากคุณครูต้องรู้ว่าพี่ป.4 แต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการชั้่ง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการชั้่งต่างๆอย่างไรบ้าง จึงได้ให้พี่ๆแต่ละคนเขียนสรุปเกี่ยวกับเครื่องชั่งและหน่วยวัดตามที่ตนเองรู้จักกันค่ะ นอกจากนี้คุณครูยังเพิ่มเติมการคิดผ่านโจทย์ท้าทายตัวเลขของพี่ๆป.4 ซึ่งคิดว่าน่าสนใจเป็นการฝึกทักษะการคิดและใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆได้ด้วยค่ะ และจะดีกว่านี้ถ้าได้ให้เด็กทำกิจกรรมต่อจากโมเดลที่นำมา ซึ่งจะทำให้พี่ๆได้เรียนรู้อย่างรอบด้านและเชื่อมโยงจากสื่อที่มีและมาจากสิ่งที่พี่ๆคิดทำขึ้นมาเองอีกครั้งค่ะ