เป้าหมาย (Understanding Goal) :

เป้าหมาย (Understanding Goal) :เข้าใจและหาความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความสูง ระยะทาง ชั่ง ตวง โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย รวมทั้งให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม

Main

"คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ"

เป้าหมายการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

- เข้าใจเนื้อหาที่เป็นพื้นฐาน เพื่อเรียนรู้วิชาอื่น เช่น

วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ พันธุกรรมศาสตร์ อย่างเช่น ความน่าจะเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์ศึกษาพันธุกรรมของเมล็ดถั่ว ในทางชีววิทยาใช้เลขยกกาลังในการกำหนดหน่วยความยาวของดีเอ็นเอ (DNA) อัตราส่วนและยกกาลังไปใช้ในการหาดัชนี มวลกายของคน เพื่อวิเคราะห์และศึกษาภาวการณ์สะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิ แผนที่ทางอากาศบอกช่วงเวลา

เศรษฐศาสตร์ อย่างเช่น วิธีการอ่านกราฟและฟังก์ชัน การหาดุลยภาพและการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด เรียนรู้วิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดของผู้บริโภคและผู้ผลิต

การงานอาชีพ ศิลปะ อย่างเช่น อัตราส่วนการปรุงอาหาร การประกอบอาชีพ การออกแบบ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การเขียนโปรแกรมฯ การประมาณขนาดรูปร่างในการวาดภาพ มองโครงสร้างโมเดลจำลองในการสร้างประติมากรรม การเปรียบเทียบขนาดรูปร่างทางเรขาคณิต(พื้นที่ / ปริมาตร)

สังคม ประวัติศาสตร์ อย่างเช่น การบอกเวลา ระยะทาง บอกค่าเงิน(การแปลงค่าเงิน / การซื้อขายแลกเปลี่ยน) การคำนวณปีจากอดีต-ปัจจุบัน(พ.ศ. / ค.ศ.) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การออกแบบภูมิปัญญา(ปัญญาประดิษฐ์) การคำนวณความกว้างของแม่น้ำ การสร้างที่อยู่อาศัย ฤดูกาล

สุขศึกษา พลศึกษา อย่างเช่น การคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย(BMI) การบอกค่าพลังงานจากสารอาหาร การวัดขนาดร่างกาย (น้ำหนัก / ส่วนสูง) การนับการเต้นของหัวใจ

- พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การมองเห็นรูปแบบ (Pattern) การสร้างภาพในสมอง การให้เหตุผล การสื่อสาร เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย

Mind mapping (สาระการเรียนรู้)

ปฏิทินและวิเคราะห์มาตรฐานการจัดกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 Quarter 2 ปีการศึกษา 2559


Week

Input

Process

Output

Outcome
1

โจทย์
ทบทวนทศนิยม

Key  Questions
หลักการอ่านและเขียนทศนิยมเป็นอย่างไร?

เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-แผ่นร้อย
-ใบงาน
- แท่งสิบ
- Power Point
- แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาตารางค่าของตัวเลขตามค่าประจำหลัก และฝึกอ่านและเขียนค่าทศนิยมจากใบงานที่ครูแจกให้
- นักเรียนเรียนรู้ค่าทศนิยม ( 1 ตำแหน่ง ) จากแท่งสิบ และเรียนรู้ค่าทศนิยม ( 2 ตำแหน่ง ) จากแผ่นร้อย

 - นักเรียนทำใบงาน
- ครูร่วมสนทนากับนักเรียนทบทวนเรื่องเปรียบเทียบถึงความสัมพันธ์ของหน่วยต่างๆ
-ครูสุ่มถามนักเรียน 5 คน เกี่ยวกับความสูง(เมตร) จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันเรียงลำดับว่าใครมีความสูงมากที่สุดจนมาถึงน้อยที่สุด
- ครูและนักเรียนร่วมกันเปรียบเทียบทศนิยมจากแท่งสิบและแผ่นร้อย


- แบ่งกลุ่มนักเรียนเล่นเกมเรียงลำดับทศนิยมจากจำนวนน้อยที่สุดไปหามากที่สุด
(ครูแจกซองกิจกรรมที่มีบัตรจำนวนทศนิยมทั้งที่เป็นตัวเลข และรูปภาพ)
- ครูและนักเรียนร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
 - นักเรียนทำใบงาน
- นักเรียนฝึกเขียนค่าของตัวเลขตามค่าประจำหลักในรูปแบบของตาราง




-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการกระจายทศนิยมในรูปผลบวก  เช่น
  2.3  =   2  +  0.3
 16.7  =  10  +  6  +  0.7
- นักเรียนทำใบงาน
- แบ่งกลุ่มนักเรียนผ่านการเล่มเกมรวมเงิน (ผู้หญิง 0.25 บาท ผู้ชาย 1.00 บาท)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันช่วยกันคิดตอบคำถามจากโจทย์ที่ครูกำหนดให้พร้อมกับร่วมแลกเปลี่ยนแสดงวิธีการคิด
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปวิธีการบวก ลบ ทศนิยมในรูปแบบต่างๆ


- นักเรียนทำใบงาน
ภาระงาน
- ศึกษาตารางค่าของตัวเลขตามค่าประจำหลัก และฝึกอ่านและเขียนค่าทศนิยมจากใบงานที่ครูแจกให้
- สนทนากับนักเรียนทบทวนเรื่องเปรียบเทียบถึงความสัมพันธ์ของหน่วยต่างๆ
- การแบ่งกลุ่มนักเรียนเล่นเกมเรียงลำดับทศนิยมจากจำนวนน้อยที่สุดไปหามากที่สุด
(ครูแจกซองกิจกรรมที่มีบัตรจำนวนทศนิยมทั้งที่เป็นตัวเลข และรูปภาพ)
- การตอบคำถามและการทำใบงาน

ชิ้นงาน
ใบงาน
ความรู้
เข้าใจหลักและการอ่านทศนิยม รู้ค่าทศนิยม( 1 และ 2 ตำแหน่ง ) สามารถเปรียบเทียบ เรียงลำดับและบวก ลบทศนิยมได้
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการจัดการข้อมูลการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และการนำเสนอ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
 - รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1.1 ป.4/1 เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ ศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
1.1 ป.4/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับและศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยง
1.1 ป.4/3บวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการคิด
6.1 ป.4/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
6.1 ป.4/3ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
6.1 ป.4/4ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
6.1 ป.4/5 เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ

Week

Input

Process

Output

Outcome
2

โจทย์
จำนวนและการดำเนินการที่เป็นทศนิยม(ประยุกต์ใช้)
Key  Questions
ความสัมพันธ์ของตัวเลข และจำนวนต่างๆเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตลับเมตร
- กระดาษชาร์ต
- ตารางบันทึกผล
- แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม
 ครูขออาสานักเรียนกลุ่มละ 1 คนมาร่วมกระโดดไกล และบันทึกผลการกระโดดที่ได้ทั้ง 2 ครั้งลงในตารางที่กำหนดให้  
โดยใช้คำถาม
 ● จำนวนนักเรียนที่อาสากระโดดไกลทั้งหมดกี่คน ใครบ้าง
 ● นักเรียนคิดว่าใครจะกระโดดได้ไกลและใกล้ที่สุด และกี่เมตร
 ●  นักเรียน(อาสา)คิดว่าตนเองจะกระโดดได้ไกลที่สุดเท่าไร
 ●  นักเรียน(อาสา)คิดว่าตนเองจะกระโดดไกลได้มากกว่า  น้อยกว่า หรือเท่ากันทั้ง 2 ครั้ง
 ●  นักเรียนที่อาสากระโดดไกล ลงมือปฏิบัติตามกิจกรรมที่วางไว้
-ครูติดชาร์ตตารางสรุปผลการกระโดดไกล
 ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมากรอกข้อมูลผลการกระโดดไกลทั้ง 2 ครั้ง และผลรวมที่ได้
 -ครูขออาสานักเรียนมาช่วยจัดอันดับผลการกระโดดไกล
โดยใช้คำถาม
ผลการจัดอันดับการกระโดดไกลเป็นอย่างไร แตกต่างจากที่คาดการณ์ไว้ชั่วโมงแรกหรือไม่อย่างไร (นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น )
- ครูติดชาร์ตตารางสรุปผลการกระโดดไกล
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันตอบคำถามและแสดงวิธีคิดร่วมกัน
 -นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนนำเสนอวิธีคิดคำตอบแต่ละข้อ
โดยใช้คำถาม  (ตัวอย่าง)
ผลรวมของคนที่ได้อันดับที่ 1 2 3 4 5 แต่ละคนได้เท่าไร
ผลรวมของการกระโดดไกลของใครมากที่สุด น้อยที่สุด และต่างกันอยู่เท่าไร
คนที่ได้อันดับที่ 2 และ 3 มีผลรวมต่างกันอยู่เท่าไร
คนที่ได้อันดับที่ 4 ต้องเพิ่มระยะการกระโดดอีกเท่าไรจึงจะมีผลรวมเท่ากับคนที่ได้อันดับที่ 1
ผลการกระโดดไกลทั้ง 2 ครั้ง ของแต่ละคน แตกต่างกันอยู่เท่าไร
ผลการกระโดดไกลครั้งที่ 1และ 2 ของใครที่มีผลต่างกันมากที่สุดและน้อยที่สุด อยู่เท่าไร
การกระโดดไกลครั้งที่ 2 ของคนที่ได้อันดับที่ 5 ต่างจากของคนที่ได้อันดับที่ 3 กระโดดครั้งที่ 2 อยู่เท่าไร
-นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบและวางแผนกิจกรรมใหม่ที่มองเห็นความสัมพันธ์ของจำนวนและการดำเนินการของตัวเลขหลายระดับ ตามความสนใจ
 -นักเรียนแต่ละกลุ่มสร้างชุดคำถามจากการทำกิจกรรมอย่างน้อย 5 ข้อ
 -นักเรียนแต่ละกลุ่มติดแผ่นชาร์ตตารางกิจกรรมพร้อมคำถามของแต่ละกลุ่ม ตามมุมห้องเรียนต่าง
 -นักเรียนแต่ละกลุ่มจับฉลากเลือกกลุ่มที่จะได้ตอบคำถาม
 -นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนการตอบคำถามและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
ภาระงาน
- การตอบคำถามและการทำใบงาน
- การแบ่งกลุ่มนักเรียนและขออาสานักเรียนกลุ่มละ 1 คนมาร่วมกระโดดไกล และบันทึกผลการกระโดดที่ได้ทั้ง 2 ครั้งลงในตารางที่กำหนดให้   

ชิ้นงาน
-ใบงาน
- ตารางกิจกรรมใหม่ที่มองเห็นความสัมพันธ์ของจำนวนและการดำเนินการของตัวเลขหลายระดับ ตามความสนใจ
ความรู้
เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของตัวเลข และจำนวนต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์และแสดงวิธีคิดหาคำตอบจากชุดคำถามได้อย่างมีเหตุผล
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการจัดการข้อมูลการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และการนำเสนอ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
 - รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1.1 ป.4/1 เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ ศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
1.1 ป.4/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับและศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยง
1.1 ป.4/3บวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
สาระที่ 4 พีชคณิต
4.1 ป.4/2บอกรูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่กำหนดให้
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและ ความน่าจะเป็น
5.1 ป.4/1รวบรวมและจำแนกข้อมูล
สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการคิด
6.1 ป.4/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
6.1 ป.4/3ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
6.1 ป.4/4ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
6.1 ป.4/5 เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ

Week

Input

Process

Output

Outcome
3-4

โจทย์
การ วัดความยาว ความสูงและระยะทาง
Key  Questions
 -นักเรียนสามารถใช้วิธี
การคะเนความยาว ความสูง หรือระยะทางได้
อย่างไร
- ทำไมการวัดการ วัดความยาว ความสูงและระยะทาง
จึงใช้เครื่องมือการวัดแตกต่างกัน
เครื่องมือคิด
- Brainstorms :
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- สิ่งของที่มีความยาว เช่น นาฬิกาข้อมือ ไม้บรรทัด เชือก กล่องดินสอ
- เครื่องมือวัดความยาว เช่น ไม้บรรทัด ไม้เมตร
- ชุดคำถาม
- ครูให้นักเรียนใช้ไม้บรรทัดขีดเส้นตรงขนาดต่าง เช่น 3 เซนติเมตร 5 เซนติเมตร  7 เซนติเมตร 10 เซนติเมตรให้นักเรียนหาสิ่งของที่อยู่รอบ ตัวที่มีขนาดเท่ากับเส้นตรงที่ลากไว้ ( 3 นาที )
- นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนทำกิจกรรมวัดความยาวจากสิ่งของรอบตัว ดังตารางต่อไปนี้


และให้แต่ละกลุ่มสรุปความเข้าใจจากการทำกิจกรรมผ่านชุดคำถาม
ตัวอย่างชุดคำถาม
- ให้นักเรียนเรียงอันดับความยาวจากน้อยไปหามาก ( การคาดคะเนด้วยสายตา)
ให้นักเรียนเรียงอันดับความยาวจากน้อยไปหามาก (ใช้เครื่องมือวัด)
- สิ่งของที่มีความยาวมากที่สุดห่างจากน้อยที่สุดอยู่เท่าไร
- ความยาวของดินสอกับปากการวมกันได้เท่าไร
- ความยาวของสมุดที่คาดคะเนด้วยสายตาแตกต่างจากการใช้เครื่องมือวัดหรือไม่ อย่างไร
- ถ้าเพิ่มจำนวนของรายการต่างๆเป็นอย่างละ 2 ชิ้น ความยาวของแต่ละรายการจะเป็นเท่าไร
ฯลฯ
- ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
- ครูนำอุปกรณ์เครื่องมือวัดความยาว (ไม้เมตร  ตลับเมตร  สายวัด ไม้บรรทัด )มาให้นักเรียนดูและเลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆวัดความยาวของสิ่งของที่ครูกำหนดให้ดังนี้
โต๊ะทำงานครู   หน้าต่าง  ชั้นวางหนังสือ กระดาษ A4
- นักเรียนร่วมนำเสนอผลการวัดความยาวของสิ่งต่างๆที่ครูกำหนดให้ พร้อมกับให้เหตุผลประกอบการเลือกเครื่องที่ใช้วัด
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการนำเครื่องมือการวัดต่างๆที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน


- ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยทบทวนเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวัดความยาวที่พบในชีวิตประจำวัน
- ครูติดบัตรคำหน่วยการวัดความยาว (หน่วยการวัดความยาวที่เป็นมาตรฐานในระบบเมตริกและหน่วยการวัดความยาวของไทย) แล้วให้นักเรียนช่วยกันจำแนกหมวดหมู่พร้อมให้เหตุผลประกอบ
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนและแจกใบความรู้และชุดคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดความยาว ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาดังนี้
หน่วยการวัดความยาวที่เป็นมาตรฐานในระบบเมตริกมีความสัมพันธ์กัน คือ
          ความยาว        10        มิลลิเมตร                 เท่ากับความยาว           1        เซนติเมตร
         ความยาว        100      เซนติเมตร                เท่ากับความยาว          1         เมตร
        ความยาว        1,000   เมตร                        เท่ากับความยาว           1         กิโลเมตร
และหน่วยการวัดความยาวของไทย ได้แก่
คืบ ศอก วา เส้น มีความสัมพันธ์กัน คือ
                   12 นิ้ว     =     1     คืบ                      
                  2    คืบ     =     1 ศอก
                   4 ศอก     =     1    วา                       
                  2  วา     =     1 เมตร

- นักเรียนสรุปความเข้าใจเรื่องที่ศึกษาผ่านชุดคำถาม
ตัวอย่างชุดคำถาม
-          จงเรียงลำดับหน่วยการวัดความยาวที่เป็นมาตรฐานจากหน่วยเล็กที่สุดไปสู่หน่วยใหญ่ตามลำดับ
-          ความยาว 10     มิลลิเมตร   จะเท่ากับความยาว กี่เซนติเมตร
-          ความยาว        200      เซนติเมตร จะเท่ากับความยาวกี่เมตร
-          ถ้าถนนยาว 5,000 เมตร จะเท่ากับความยาวกี่กิโลเมตร
-          ถ้ามีเชือกยาวเมตร  83  เซนติเมตร  เปลี่ยนหน่วยเป็นเซนติเมตรได้เท่าไร
-          จงเรียงลำดับหน่วยการวัดความยาวของไทยจากหน่วยเล็กที่สุดไปสู่หน่วยใหญ่ตามลำดับ
-          ถ้าวัดความยาวได้  2 คืบ จะมีความยาวเท่ากับกี่ศอก
-          ถ้าวัดความยาวได้  3 วา จะมีความยาวเท่ากับกี่ศอก
-          ถ้าต้นไม้สูง 5 เมตร ต้นไม้สูงกี่เซนติเมตร
-          นักบาสเกตบอลสูง 2 เมตร 5 เซนติเมตร  นักบาสเกตบอลสูงกี่เซนติเมตร
ฯลฯ
- แบ่งกลุ่มนักเรียนจัดทำตารางแสดงผลการวัดความสูงของแต่ละคน รวมทั้งช่วยกันจัดลำดับความสูงในกลุ่มว่าใครสูงที่สุดใครเตี้ยที่สุด
ตัวอย่างชุดคำถาม
-         จากข้อมูลตาราง ให้ช่วยเรียงอันดับความสูง
-         ใครมีส่วนสูงมากที่สุด ใครน้อยที่สุด
-         สมาชิกในกลุ่มมีผู้หญิงกี่คน และชายกี่คน
-         คนที่สูงอันดับ1สูงกว่าคนที่สูงอันดับ 5 อยู่เท่าไร
-         คนที่สูงอันดับ 2 และ3 มีความสูงห่างกันอยู่เท่าไร
-         คนที่สูงอันดับ4 มีความสูงกี่เซนติเมตร
-         ฯลฯ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้จากการหาคำตอบจากชุดคำถาม
-นักเรียนออกแบบแผนที่การเดินทางจากบ้านมาโรงเรียน
- แผนที่บริเวณต่างๆภายในโรงเรียน

ภาระงาน
- สิ่งของที่อยู่รอบ ๆ ตัวที่มีขนาดเท่ากับเส้นตรงที่ลากไว้
- การทำกิจกรรมวัดความยาวจากสิ่งของรอบตัวและตอบคำถามจากชุดคำถาม
- การเลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆวัดความยาวของสิ่งของที่ครูกำหนดให้
- การสรุปการนำเครื่องมือการวัดต่างๆที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
- การศึกษาและตอบคำถามจากใบงานหน่วยความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดความยาว
- การแบ่งกลุ่มนักเรียนจัดทำตารางแสดงผลการวัดความสูงของแต่ละคน รวมทั้งช่วยกันจัดลำดับ พร้อมตอบคำถามจากชุดคำถาม
- การออกแบบแผนที่การเดินทางจากบ้านมาโรงเรียนและ แผนที่บริเวณต่างๆภายในโรงเรียน

ชิ้นงาน
- คำตอบจากชุดคำถามต่างๆ
- ผลสรุปการนำเครื่องมือการวัดต่างๆที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
- แผนที่การเดินทางจากบ้านมาโรงเรียนและ แผนที่บริเวณต่างๆภายในโรงเรียน
ความรู้
เข้าใจและบอกความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาวความสูงและระยะทาง ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา รวมทั้ง ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการจัดการข้อมูลการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และการนำเสนอ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
 - รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1.1 ป.4/1 เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ ศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
1.1 ป.4/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับและศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยง
1.1 ป.4/3บวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
สาระที่ 2 การวัด
2.1 .4/1บอกความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตรหรือความจุ และเวลา
2.1 .4/4คาดคะเนความยาว น้ำหนัก ปริมาตรหรือความจุ
2.1 .4/5แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดความยาว การชั่ง การตวง เงิน และเวลา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและ ความน่าจะเป็น
5.1 ป.4/1รวบรวมและจำแนกข้อมูล
สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการคิด
6.1 ป.4/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
6.1 ป.4/3ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
6.1 ป.4/4ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
6.1 ป.4/5 เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
6.1 .4/6มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

Week

Input

Process

Output

Outcome
5

โจทย์
การชั่งน้ำหนักและการตวง
 - การชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัม กรัม ขีด 
 - คาดคะเน
 - เปรียบเทียบขนาดของวัตถุ

Key  Questions
เรามีวิธีการชั่งน้ำหนักอย่างไรได้บ้าง และการชั่งน้ำหนักมีความสำคัญอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เครื่องชั่งสองแขน เครื่องชั่งน้ำหนักตัว เครื่องชั่งสปริง
- สิ่งของที่มีน้ำหนัก ฉลากสินค้าที่ระบุน้ำหนักกำกับไว้
- ลูกแก้ว  ฝาจีบ  เงินเหรียญ
ถุงข้าวสารเล็ก  เลโก้ ส้ม
- ครูให้นักเรียนคาดคะเนน้ำหนักน้ำหนักด้วยการเปรียบเทียบสิ่งของที่มีรูปร่างใกล้เคียงกัน เช่น ผลส้ม 2 ผล
- นักเรียนนำสิ่งของไปชั่งกับเครื่องชั่งและสรุปผล
- ครูให้นักเรียนคาดคะเนน้ำหนักน้ำหนักด้วยการเปรียบเทียบสิ่งของที่มีรูปร่างแตกต่างกัน เช่นข้าวสาร 1 ถุงเล็ก กับสำลี 1 ถุงใหญ่
- นักเรียนนำสิ่งของไปชั่งกับเครื่องชั่งและสรุปผล
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เรามีวิธีการชั่งน้ำหนักอย่างไรได้บ้าง และการชั่งน้ำหนักมีความสำคัญอย่างไร?
- ครูและนักเรียนร่วมสนทนาเกี่ยวกับเครื่องชั่งต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องชั่งสองแขน ตาชั่งฯลฯ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยน้ำหนักเป็นกิโลกรัม กรัม ขีด 




 - แบ่งกลุ่มนักเรียนออกแบบตารางชั่งสิ่งของต่างๆ จำนวน 5 อย่าง  เช่น ถุงข้าวสารเล็ก  เลโก้ ส้ม ฯลฯโดยไม่ใช้หน่วยมาตรฐาน (ลูกแก้ว  ฝาจีบ  เงินเหรียญ)โดยเริ่มจากการคาดคะเน  และชั่งจริง จากนั้นบันทึกผลที่ได้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลตารางจากการออกแบบชั่งสิ่งของต่างๆ จำนวน 5 อย่าง โดยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานนั้น มาชั่งน้ำหนักโดยใช้หน่วยมาตรฐานจริง และบันทึกผลลงในตารางอีกครั้ง พร้อมกับตอบคำถามจากชุดคำถาม
- ครูและนักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
ภาระงาน
- การคาดคะเนน้ำหนักน้ำหนักด้วยการเปรียบเทียบสิ่งของที่มีรูปร่างใกล้เคียงกันและสิ่งของที่มีรูปร่างแตกต่างกัน
- สนทนาเกี่ยวกับเครื่องชั่งต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- ออกแบบตารางชั่งสิ่งของต่างๆ จำนวน 5 อย่าง  โดยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานใช้หน่วยมาตรฐานจริง พร้อมตอบคำถามจากชุดคำถาม
ชิ้นงาน
ตารางการออกแบบการชั่งสิ่งของต่างๆ จำนวน 5 อย่าง  โดยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานใช้หน่วยมาตรฐานจริง พร้อมตอบคำถามจากชุดคำถาม
ความรู้
เข้าใจและบอกความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาวความสูงและระยะทาง ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา รวมทั้ง ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการจัดการข้อมูลการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และการนำเสนอ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
 - รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1.1 ป.4/1 เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ ศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
1.1 ป.4/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับและศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยง
1.1 ป.4/3บวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
สาระที่ 2 การวัด
2.1 .4/1บอกความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตรหรือความจุ และเวลา
2.1 .4/4คาดคะเนความยาว น้ำหนัก ปริมาตรหรือความจุ
2.1 .4/5แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดความยาว การชั่ง การตวง เงิน และเวลา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและ ความน่าจะเป็น
5.1 ป.4/1รวบรวมและจำแนกข้อมูล
สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการคิด
6.1 ป.4/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
6.1 ป.4/3ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
6.1 ป.4/4ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
6.1 ป.4/5 เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
6.1 .4/6มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

Week

Input

Process

Output

Outcome
6-7

โจทย์
การชั่งน้ำหนักและการตวง
- การตวงปริมาตรและความจุที่มีหน่วยเป็นลิตร มิลลิลิตร
 - คาดคะเน

Key  Questions
- เกิดอะไรขึ้นเมื่อครูให้แต่ละคนกำหนดหน่วยตวงขึ้นมาเองและทำไมต้องมีการกำหนดการตวงที่มีหน่วยมาตรฐาน?
เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ภาชนะรูปร่างต่าง กัน ขนาดความจุ 1 ลิตร
- เครื่องตวงมาตรฐาน
- ใบงาน
- นักเรียนคาดคะเนความจุของน้ำในแก้วว่าแก้วใดมีความจุน้ำมากกว่ากัน
แบบที่ 1


แบบที่ 2

- นักเรียนคาดคะเนน้ำ 1 ถังมีความจุกี่ลิตร
- นักเรียนร่วมอภิปรายและพิสูจน์คำตอบ
- ครูกำหนดการตวง 2 แบบแบบที่ 1การตวงของแห้ง มีลักษณะเนื้อละเอียด(ถั่วเขียว ข้าวสาร)และของแห้งที่มีชิ้นใหญ่ (ถั่วลิสง)
ส่วนแบบที่ 2 การตวงของเหลว (น้ำสี)
- ครูขออาสานักเรียนออกมาทดลองตวงของแห้ง โดยครูต้องการข้าวสาร และถั่วลิสงจำนวน 1 ถุงและการตวงของเหลว น้ำ 1 ลิตร โดยให้นักเรียนเลือกใช้หน่วยตวงเองซึ่งใช้หน่วยตวงที่ไม่ใช่มาตรฐาน
( กล่องนม  แก้ว กระป๋อง )
- ครูทำตารางแสดงผลการตวงของแต่ละคน
- นักเรียนที่ออกมาทดลอง อธิบายเหตุผลประกอบการเลือกใช้อุปกรณ์ในการตวงและวิธีการตวง
 - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ เกิดอะไรขึ้นเมื่อครูให้แต่ละคนกำหนดหน่วยตวงขึ้นมาเองและทำไมต้องมีการกำหนดการตวงที่มีหน่วยมาตรฐาน?
- ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับความสำคัญของวิธีการเลือกใช้เครื่องตวงที่เป็นมาตรฐาน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการตวง มีดังนี้
- นักเรียนฝึกแปลงค่าหน่วยการตวงจากโจทย์ที่กำหนดให้ เช่น 1,200 มิลลิลิตรเท่ากับกี่ลิตร
- นักเรียนบันทึกการไหลของน้ำ โดยครูเปิดก็อกน้ำกำหนดการอัตราการไหล ใส่ภาชนะขนาด  1 ลิตร แล้วตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียน มีความสนใจ จากช้าไปหาเร็ว
- ให้นักเรียนตวงน้ำที่ไหลออกมาเพื่อเปรียบเทียบว่าถ้าน้ำไหลเร็ว ไหลช้า เวลาที่น้ำเต็มถ้วยตวงใช้เวลาตามกันอย่างไร
- นักเรียนจะเสนอความคิดเห็น แล้วสรุปร่วมกัน
- แบ่งกลุ่มนักเรียนทดลองการตวงน้ำใช้เหยือกตวงน้ำ ถ้วยตวง กระบอกตวงน้ำความจุต่างๆโดยครูให้ใบงานสำหรับให้นักเรียนทำลอง ตวงน้ำ
เช่น
- ต้องการน้ำ 5ลิตร ต้องใช้ เหยือกตวงน้ำ ขนาด 1 ลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 5 ลิตร
- ต้องการน้ำ 1ลิตร ต้องใช้ถ้วยตวง ขนาด 500 มิลลิลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 1 ลิตร
- ต้องการน้ำ 5ลิตร ต้องใช้ถ้วยตวง ขนาด 500 มิลลิลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 5 ลิตร
-ต้องการน้ำ 1ลิตร ต้องใช้ถ้วยตวง ขนาด 250 มิลลิลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 1 ลิตร
-ต้องการน้ำ 5ลิตร ต้องใช้ถ้วยตวง ขนาด 250 มิลลิลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 5 ลิตร
-ต้องการน้ำ 1ลิตร ต้องใช้ถ้วยตวง ขนาด100 มิลลิลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 1 ลิตร
-ต้องการน้ำ 2ลิตร ต้องใช้ถ้วยตวง ขนาด100 มิลลิลิตร กี่ครั้งถึงจะได้น้ำ 2 ลิตร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกผลและตอบคำถามจากชุดคำถาม
- ครูกำหนดสถานการณ์ นำขวดเครื่องดื่มที่ใช้ในชีวิตประจำวันขนาดต่างๆ  3ใบ ขนาด 60 มิลลิลิตร  250 มิลลิลิตรและ 500 มิลลิลิตร ให้หาวิธีตวงน้ำให้ให้ได้ปริมาตร 850 มิลลิลิตร โดยต้องใช้ขวดทั้ง 3 ใบ (นักเรียนแสดงวิธีคิด)
- นักเรียนทำใบงาน
- นักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
ภาระงาน
- การคาดคะเนความจุของน้ำในแก้ว
- การทดลองตวงของแห้ง โดยครูต้องการข้าวสาร และถั่วลิสงจำนวน 1 ถุงและการตวงของเหลว น้ำ 1 ลิตร โดยให้นักเรียนเลือกใช้หน่วยตวงเองซึ่งใช้หน่วยตวงที่ไม่ใช่มาตรฐาน
( กล่องนม  แก้ว กระป๋อง )
- การอธิบายเหตุผลประกอบการเลือกใช้อุปกรณ์ในการตวงและวิธีการตวง
- การบันทึกการไหลของน้ำ
- ทดลองการตวงน้ำใช้เหยือกตวงน้ำ ถ้วยตวง กระบอกตวงน้ำความจุต่างๆ
- การทำใบงาน
- การร่วมแสดงความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม
ชิ้นงาน
- ใบงาน
- ผลการทดลองการตวงน้ำใช้เหยือกตวงน้ำ ถ้วยตวง กระบอกตวงน้ำความจุต่างๆและการตอบคำถาม
ความรู้
เข้าใจความสัมพันธ์ของการตวงปริมาตรและความจุที่มีหน่วยเป็นลิตร มิลลิลิตรใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา รวมทั้ง ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการจัดการข้อมูลการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และการนำเสนอ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
 - รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1.1 ป.4/1 เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ ศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
1.1 ป.4/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับและศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยง
1.1 ป.4/3บวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
สาระที่ 2 การวัด
2.1 .4/1บอกความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตรหรือความจุ และเวลา
2.1 .4/4คาดคะเนความยาว น้ำหนัก ปริมาตรหรือความจุ
2.1 .4/5แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดความยาว การชั่ง การตวง เงิน และเวลา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและ ความน่าจะเป็น
5.1 ป.4/1รวบรวมและจำแนกข้อมูล
สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการคิด
6.1 ป.4/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
6.1 ป.4/3ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
6.1 ป.4/4ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
6.1 ป.4/5 เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
6.1 .4/6มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

Week

Input

Process

Output

Outcome
8

โจทย์
เวลา

Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดในเวลาใดบ้าง
- นักเรียนจะออกแบบบันทึกกิจวัตรประจำวันของตนเองภายใน 1 สัปดาห์ได้อย่างไร

เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-สื่อของจริง    อาทิ  นาฬิกาฝาผนัง  ฯลฯ
- ภาพแสดงเหตุการณ์ในเวลาต่างๆ
- ใบงาน
- ปฏิทิน
- ตารางการเดินรถไฟและตารางเดินรถประจำทาง
- ครูเล่นนิทานและให้นักเรียนวาดภาพประอบเรื่องที่ฟังและครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
   - จากเรื่องที่ฟังนักเรียนคิดว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดในเวลาใดบ้าง
- ให้นักเรียนช่วยกันเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
 -นักเรียนจับคู่วาดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงกลางคืนและกลางวัน
- นักเรียนแต่ละคู่ร่วมแลกเปลี่ยนนำเสนอภาพวาดของตนเอง
- ครูนำสื่อของจริง นาฬิกามาให้นักเรียนดูและร่วมพูดคุยเกี่ยวกับความสำคัญของเวลา และให้นักเรียนช่วยกันบอกส่วนประกอบของนาฬิกา การทำงานของแต่ละชิ้น เช่นตัวเลขบนหน้าปัด ขีด เข็มสั้น เข็มยาว และความสัมพันธ์ของวัน ชั่วโมงและนาที
- นักเรียนทำใบงานฝึกการอ่านและเขียนเรื่องเวลา
-ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนและแจกปฏิทินรูปแบบต่างๆ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาว่าปฏิทินประกอบไปด้วยอะไรบ้างและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร อย่างเช่น 1 สัปดาห์ มี 7 วัน 1 เดือนมี 30หรือ 31 วัน 1 ปีมี 12 เดือน ฯลฯ แล้วตอบคำถามดังตัวอย่างต่อไปนี้
-  1  สัปดาห์มีกี่วัน    วันอะไรบ้าง  (  7  วัน  วันอาทิตย์  วันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ   วันพฤหัสบดี  วันศุกร์  วันเสาร์ )
วันนี้เป็นวันอะไร
พรุ่งนี้เป็นวันอะไร
ถ้าวันนี้เป็นวันจันทร์  อีก วัน  เป็นวันอะไร  (วันศุกร์)
เดือนนี้เป็นเดือนอะไร  .อะไร
- ให้นักเรียนเข้าแถวเป็นวงกลม  2  วงซ้อนกัน  วงในให้เป็นเดือน  1  คน  แทน  1  ชั่วโมง   วงนอกเป็นวัน  1  คน  แทน  1  วัน
และ ให้ทั้ง  2  วง  รำประกอบเพลงโดยเดินสวนทางกัน  เมื่อครูให้สัญญาณ  ทุกคนหยุดเดินและรวมตัวกันให้ได้จำนวนเวลาเท่าที่ครูบอกเช่น  ครูบอก  3  เดือน  5  วัน    ก็จะมีคนอยู่ในวงใน  8  คน
- นักเรียนร่วมสรุปการเรียนรู้จากการทำกิจกรรม
- นักเรียนศึกษาตารางการเดินรถไฟและตารางเดินรถประจำทาง และตอบคำถามจากชุดคำถาม
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนคำตอบ
- นักเรียนออกแบบบันทึกกิจวัตรประจำวันของตนเองภายใน 1 สัปดาห์
- นักเรียนทำใบงาน
ภาระงาน
- การวาดภาพประอบเรื่องที่ฟัง
- การตอบคำถามและเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- จับคู่วาดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงกลางคืนและกลางวัน
- การร่วมพูดคุยเกี่ยวกับส่วนประกอบของนาฬิกาและทำใบงานฝึกการอ่านและเขียนเรื่องเวลา
- การแบ่งกลุ่มศึกษาว่าปฏิทินประกอบไปด้วยอะไรบ้างและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
- การเล่นเกม
- การศึกษาตารางการเดินรถไฟและตารางเดินรถประจำทาง และตอบคำถามจากชุดคำถาม
- การออกแบบบันทึกกิจวัตรประจำวันของตนเองภายใน 1 สัปดาห์

ชิ้นงาน
- วาดภาพประอบเรื่องที่ฟัง
 - ใบงาน
- ออกแบบบันทึกกิจวัตรประจำวันของตนเองภายใน 1 สัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถบอกเวลาช่วงเวลา เขียนบอกเวลาโดยใช้จุดและการอ่าน
รวมทั้งสามารถบันทึกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆที่ระบุเวลา และความสัมพันธ์ระหว่างเวลา  นาทีได้
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการจัดการข้อมูลการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และการนำเสนอ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
 - รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1.1 ป.4/1 เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ ศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
1.1 ป.4/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับและศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยง
1.1 ป.4/3บวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
สาระที่ 2 การวัด
2.1 .4/1บอกความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตรหรือความจุ และเวลา
2.1 .4/4คาดคะเนความยาว น้ำหนัก ปริมาตรหรือความจุ
2.1 .4/5แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดความยาว การชั่ง การตวง เงิน และเวลา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและ ความน่าจะเป็น
5.1 ป.4/1รวบรวมและจำแนกข้อมูล
สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการคิด
6.1 ป.4/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
6.1 ป.4/3ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
6.1 ป.4/4ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
6.1 ป.4/5 เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
6.1 .4/6มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

Week

Input

Process

Output

Outcome
9

โจทย์ :
สรุปองค์ความรู้คณิตศาสตร์ Q.2 และนำเสนอ

Key  Question
นักเรียนจะนำเสนอองค์ความรู้คณิตศาสตร์  Q.2 สิ่งที่ได้เรียนมาแล้วอย่างไร ?

เครื่องมือคิด
 Brainstorms :
ร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้มาแล้วใน Q.2 และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
Show and Share : การนำเสนอชิ้นงาน
Mind Mapping :หลังการเรียนรู้
 สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
ห้องสมุด
อินเทอร์เน็ต
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดที่ผ่านมา
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำเสนอองค์ความรู้คณิตศาสตร์   Q.2 สิ่งที่ได้เรียนมาแล้วอย่างไร ? 
- นักเรียนแต่ละคนคิดวางแผนงานการสรุปองค์ความรู้สิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้การเรียนคณิตศาสตร์   Q.2 ในรูปแบบต่างที่ตนสนใจ ( Mind Mapping Flow Chart ฯลฯ) 
-นักเรียนแต่ละคนนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “จากการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ใน Q.2 นักเรียนสามารถทำอะไรได้ดีแล้วบ้าง และอะไรที่นักเรียนต้องพัฒนาเพิ่มเติมอีกบ้าง?
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเขียนประเมินตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสามารถทำอะไรได้ดีแล้ว และอะไรที่ต้องพัฒนาเกี่ยวกับการเรียนรู้
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
การ เขียนสรุปองค์ความรู้การเรียนคณิตศาสตร์  Q.2 ในรูปแบบต่างๆที่ตนสนใจ
 ( Mind Mapping Flow Chart ฯลฯ)
-  เขียนสิ่งที่ดีแล้ว-สิ่งที่ควรพัฒนา
การตอบคำถาม
ความรู้ :สรุปองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาในรูปแบบต่างๆตามความสนใจและสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ชี้ ให้เห็นคุณค่า แสดงให้เห็น ความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงได้
ทักษะ :
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการจัดการข้อมูลการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และการนำเสนอ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1.1 ป.4/1 เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ ศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
1.1 ป.4/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับและศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยง
1.1 ป.4/3บวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
สาระที่ 2 การวัด
2.1 .4/1บอกความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตรหรือความจุ และเวลา
2.1 .4/4คาดคะเนความยาว น้ำหนัก ปริมาตรหรือความจุ
2.1 .4/5แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดความยาว การชั่ง การตวง เงิน และเวลา
สาระที่ 4 พีชคณิต
4.1 ป.4/2บอกรูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่กำหนดให้
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและ ความน่าจะเป็น
5.1 ป.4/1รวบรวมและจำแนกข้อมูล
สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการคิด
6.1 ป.4/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
6.1 ป.4/3ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
6.1 ป.4/4ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
6.1 ป.4/5 เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ